หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

    smartphone คืออะไร สมาร์ทโฟน คือโทรศัพท์ที่รวมเอาความสามารถแบบคอมพิวเตอร์ไว้ในโทรศัพท์

1. smartphone คืออะไร
smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้  เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OSWindows phone 7 และ Symbian Os  (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้ 
คุณสมบัติของสมาร์ทโฟน
1.การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย นี่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ smart-Phone เช่น นั่นคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ PDA โทรศัพท์เครื่องอื่น พริ้นเตอร์ หรือกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟราเรด บลูทูธ หรือ Wi-Fi
2.สามารถรองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่นไฟล์ ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพเคลื่อนไหวสกุล .gif เสียง ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ Wave, MP3, Midi ต่อไปเป็นไฟล์วิดีโอ ซึ่งจะสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่นสกุล .3gp .mp4 เป็นต้น

 2. แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance[2] ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น

แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance[3] กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
โทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ เอชทีซี ดรีม ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551[4]เวอร์ชันล่าสุดของแอนดรอยด์คือ 4.2 (JellyBean) ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 4.2 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Photo Sphere ที่สามารถถ่ายรูปได้ 360 องศา และ Keyboard Gestures ที่สามารถลากนิ้วแทนการสัมผัสตัวอักษรได้ 



Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งกันทางสื่ออิเล็คโทรนิกส์กำลังกลายเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันเสียหน่อยดีกว่าว่านักเลงไซเบอร์และการกลั่นแกล้งแบบดิจิตัลมีลักษณะอย่างไรพ่อแม่หลาคนกังวลเรื่องความปลอดภัยในโลกออนไลน์ของลูกๆโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ แต่พบว่าการกลั่นแกล้งกันในโลกไซเบอร์ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่น และมักจะมาจากนักเลงไซเบอร์ที่เป็นวัยรุ่นด้วยเช่นกัน โดยเกิดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบใดก็ได้ ทุกเวลา ทุกที่ รวมถึงสถานที่ที่น่าจะปลอดภัยที่สุดอย่างที่บ้านด้วย
 Cyberbullying คืออะไร?
การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์คือการประทุษร้ายหรือทำให้ผู้อื่นอับอายผ่านทางการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์, การส่งข้อความ, บล็อก, เว็บไซต์, ชุมชนออนไลน์, เมสเสจ, และโทรศัพท์ สิ่งที่นักเลงไซเบอร์ตั้งใจคือการแสดงความเป็นศัตรูหรือแสดงออกในแง่ลบต่ออีกฝ่ายนั่นเอง
 การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจรวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของคนหนึ่งไปยังสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ เช่น การเซฟภาพเจ้านายใส่ชุดบิกินี่ในวันพักผ่อนจากเฟซบุ้คของเจ้านายไปเผยแพร่ต่อทางฟอร์เวิร์ดเมล์ หรือการนำภาพแอบถ่ายในห้องน้ำของใครสักคนที่ได้รับมาไปโพสหน้าเว็บไซต์ให้คนอื่นดูด้วยกัน เป็นต้น
 นอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้
 ทำไมนักเลงไซเบอร์ถึงมีมากขึ้น
มีหลายทฤษฎีอธิบายว่าการเพิ่มขึ้นของการประทุษร้ายออนไลน์ส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กที่มีลักษณะชอบแกล้งผู้อื่นอยู่แล้ว เปลี่ยนวิธีการมาใช้อินเตอร์เน็ตแทนการแกล้งโดยตรงที่โรงเรียนเนื่องจากปลอดภัยจากสายตาของผู้ใหญ่มากกว่า
 แม้เว็บไซต์หลายแห่งมีผู้ดูแลเป็นผู้ใหญ่และสามารถควบคุมให้ผู้ใช้บริการรักษากติกาและใช้ภาษาที่เหมาะสมได้ แต่นักเลงไซเบอร์ก็อาจป้วนเปี้ยนแถวๆ นั้นและหาโอกาสจ้องทำร้ายด้วยการเอาคำพูดของผู้ดูแลไปปรับเปลี่ยนให้ดูแย่ลง หรือปล่อยข่าวลือด้านลบต่อเว็บไซต์แห่งนั้นได้เช่นกัน
ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ประกาศใช้พรบ.ป้องกันการกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ตแล้ว และยอมรับว่าผู้ที่ทำตัวเป็นนักเลงไซเบอร์เป็น “อาชญากร” ด้วย แม้แต่การเขียนคอมเมนต์ที่เป็นการสบประมาทในเรื่องเชื้อชาติ, ศาสนา, เผ่าพันธุ์, หรือเพศก็จัดเป็นการกระทำผิดด้วยเช่นกัน

ที่มา: What is Cyberbullying?: The Growing Threat of Electronic Bullying and Harassment [Internet].  [cited 2010 Oct 6];Available from: http://www.suite101.com/content/what-is-cyberbullying-a86488


'แท็บเล็ต'ใช้ได้ดีอยู่ที่'ครู' : โดย...สิรีนาฏ ทาบึงกาฬ สสวท.

               ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย
               เพื่อให้รู้เท่าทันแท็บเล็ต สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้จัดงานประชุมวิชาการไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย (ICTed 2012) ภายใต้หัวข้อ "ภาวะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21" ขึ้น เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ มก.บางเขน
               รศ.ยืน ภู่วรวรรณ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มก. กล่าวว่า แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ก เพราะใช้งานได้สะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย
                แท็บเล็ต เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเร็วกว่าที่จะจดจำเอง รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ ความคิดและกระบวนการ แม้ว่าหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ แต่สถานศึกษาปรับตัวช้ามาก
               "การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็นในยุคดิจิติล การใช้แท็บเล็ตต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่ใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือหรือสื่อ"
               รศ.ยืน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการใช้แท็บเล็ตในค่าย Cubic Creative Camp 7 ที่ได้ศึกษาและทดลองใช้เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ทักษะชีวิต การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ พร้อมๆ กับเน้นให้เกิดการแสวงหาเรียนรู้ โดยใช้ความสนุกเป็นตัวนำที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็ก เพื่อสร้างความประทับใจในการเรียนรู้ ในค่ายนี้แท็บเล็ตได้รับการนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ไม่ใช่เป็นหนังสือ หรือที่เก็บสื่อ แต่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็น "ตัวเชื่อมโยงกิจกรรม" ซึ่งพบว่าสามารถสร้างระดับการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ของผู้เรียนได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความสนุกจะช่วยสร้างความประทับใจ ทำให้เกิดทักษะและการจดจำได้นานๆ
                คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์" หรือ "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น